วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

The United Nations Day of Vesak 2553(2010)




มหาพุทธปัญญา เพื่อการฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์โลก ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการอีกครั้งหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์พุทธศาสนาแห่งประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มประเทศชาวพุทธ จาก ๘๔ ประเทศ เข้าร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนถึง ๓,๕๐๐ รูป/คน โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในภาคเข้าของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๘.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พร้อมกันที่อาคารหอประชุม ม.ว.ก. ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สามารถจุผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง ๕,๐๐๐ ที่นั่ง หลังจากที่รับบัตรผ่านและลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เข้าไปนั่งในส่วนของแขก VIP จากต่างประเทศ และการจัดลำดับการนั่งของผู้เข้าพิธีเปิดการประชุมในครั้งนี้ ตามลำดับความสำคัญของผู้นำเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ เช่นระดับ พระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสมาคมพุทธศาสนาของประเทศนั้น ๆ และนักวิชาการ เช่น อธิการบดี หรือ รองอธิการบดี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากนั้นเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดถึงพระนักศึกษา มจร. กลุ่มชาวพุทธประเทศต่าง ๆ เช่นกลุ่มชาวพุทธเวียตนาม และกลุ่มชาวพุทธญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในการมาชุมนุมในครั้งนี้

พิธีกรคู่ชาย(ภาษาไทย)-หญิง(ภาษาอังกฤษ) ได้ประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าประจำที่และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย และ รายการแรกเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในด้านดนตรี เป็นการแสดงดนตรีโบราณเครื่องเป่า(เหมือนแคน และขลุ่ยของไทย) จากนั้นเป็นการแสดงรีวิวประกอบสไลด์โชว์มัลติมีเดียของไทย เป็นการแสดงแบบสมัยใหม่ในจินตลีลาประกอบชายหญิงเรื่องแสงพุทธธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้เห็นภาพแห่งจินตลีลาของนักแสดง และภาพประกอบมัลติมีเดียด้วย

เวลา ๙.๐๐ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการมหาเถระสมาคม ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดในครั้งนี้ หลังจากที่ประธานจุดธูปเทียน และนำสวดมนต์ไหว้พระย่อ ๆ ท่านอธิการบดี มจร. ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ได้กล่าวถวายรายงานต่อประธานเปิดงานวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๗ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลัก ๆถึง ๓ ส่วน คือพิธีเปิดประชุมชาวพุทธนานาชาติ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการฟื้นฟูวิกฤติการณ์ของโลก ด้านต่าง ๆ ตามทัศนะของชาวพุทธ จัดที่อาคารห้องประชุม มจร. และห้องเรียนรวมของ มจร. ส่วนที่ ๒ ไปประชุมที่ตึกสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศชาวพุทธต่าง ๆ การสรุปผลการสัมมนา ทั้ง ๔ กลุ่ม การสรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการอีก ๒ กลุ่ม และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ ๑๑ ข้อ ความมั่นคง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน และพิธีปิดอย่างเป็นทางการ และส่วนสุดท้ายคือไปเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเวียนเทียน ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล จ.นครปฐม กิจกรรมเหล่านี้เป็นว่ามีความสำคัญยิ่งต่อจิตใจของประชาชนชาวไทยที่พึ่งผ่านวิกฤติการณ์ทางการเมืองทำให้ต้องเสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมา จึงถือว่าการจัดงานวิสาขบูชาโลกในครั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยารักษาบาดแผลแห่งสังคมไทยด้วย
และท่านประธานในพิธีได้กล่าวเปิดงานจบแล้ว ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งได้รับความสนใจและน่าประทับใจยิ่ง

จากนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. เป็นการฟังบรรยายจากนักอนุรักษ์นิยมชาวศรีลังกา คือ ดร. เอ.ที อริยรัตเน ประธานกลุ่มสารโวทยะ ซึ่งเป็นกลุ่มดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ก่อตั้งมาแล้ว ๕๒ ปี และมีบทบาทในสังคมชนบทมีหมู่บ้านเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ถึง ๑๕,๐๐๐ หมู่บ้าน ซึ่งทำให้นักวิชาการทั้งชาวตะวันตก และชาวประเทศตะวันออกด้วยกันให้ความสนใจ ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนและไปศึกษาดูงานจากกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก
ทางมหาวิทยาลัย มจร. ได้เห็นความสำคัญในจุดนี้จึงได้เชิญ ดร.เอ.ที. อริยรัตเน มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นผู้บรรยายหลักของพิธีเปิดการประชุมใหญ่งานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้

หลังจากที่จบการบรรยาย เรื่อง การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ” ได้พักฉันภัตตาหารเพล ที่อาคารหอฉัน การบริหารจัดการได้แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่ม ๆ เช่นชาวพุทธที่เป็นนักบวช ฉันภัตตาหารและรับประทานอาหารชั้นหนึ่งต่างหาก และแยกห้องอาหารที่เป็นมังสวิรัติ และอาหารแบบทั่ว ๆ ไปให้เลือกฉันได้ตามอัธยาศัย

เวลา ๑๒.๓๐ น. ได้เวลาถ่ายรูปหมู่ซึ่งเป็นการยากลำบากพอสมควรที่จะให้เรียบรอ้ยเพราะคนเป็นจำนวนพัน และอากาศก็แสนจะร้อนจนแทบละลาย ต้องไปนั่งและยืนตากแดดเพื่อรอความพร้อม จนทำให้หลาย ๆ ท่านถอดใจ แต่แล้วทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสร็จแล้วต้องรีบไปเข้าห้องประชุมอีกครั้งเพราะเตรียมรับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมา พร้อมด้วย พระวรชายา ที่เสด็จมาประกอบพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในเวลาบ่าย ๒ โมงตรง

บนเวทีได้จัดพระเก้าอี้รับเสด็จ และอีกด้านหนึ่งได้จัดที่นั่งของสมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ตรงกลางเวทีได้จัดที่ให้พระสงฆ์นานาชาติระดับพระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสงฆ์ และหัวหน้ากลุ่มชาวพุทธ จำนวน ๒๕ ท่าน เพื่อรับถวายพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นเครื่องไทยธรรมและที่ระลึกในงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓

เมื่อได้เวลาเสด็จฯ ท่านอธิการบดี ม.มจร. พระธรรมโกศาจารย์ ได้ออกไปนำเสด็จถึงหน้าตึก ม.ว.ก. ๔๘ พรรษา แล้วนำเสด็จเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าที่ประทับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ทูลถวายรายงาน ถึงความเป็นมาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกในครั้งนี้ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับองค์พุทธของประเทศญี่ปุ่น (ITRI) เป็นประธานจัดงานร่วมกัน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ ที่จัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาที่ประเทศไทย
หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ดังนี้


“ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๓ และได้ทราบถึงความเป็นมารวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้
พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษ ในประการที่อาศัยเหตุและผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน แสดงคำสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรอง และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยของตน ท่านทั้งหลายผู้ตั้งใจอุทิศแรงกาย แรงใจของตนเพื่อพระพุทธศาสนาจึงชอบที่จะเผยแพร่พุทธธรรมโดยยึดหลักเหตุผล แนะนำส่งเสริมให้บุคคลใช้ปัญญาพิจารณาปัญหา และสิ่งดีชั่วต่าง ๆ ให้รู้ให้เห็นตามทางและวิธีที่ถูกต้องด้วยตัวเขาเอง เมื่อบุคคลรู้จักเหตุรู้จักผล สามารถใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องทั้งปวงได้ด้วยตนเอง ย่อมจะเกิดศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง มีความเข้าใจในพุทธธรรมอย่างกระจ่าง และปฏิบัติตามหลักธรรมได้โดยถูกถ้วน การบำเพ็ญกรณียกิจของท่านในการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเผยแพร่สัมมาปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ก็จะยังผลอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ คือความสุข ความเจริญให้เกิดแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตลอดจนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลก ตามความปรารถนาที่ตั้งไว้
ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๓ ณ บัดนี้ ขอให้การประชุมครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผล อันน่าชื่นชม ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ”

The United Nation Day of Vesak 2553(2010)






มหาพุทธปัญญา เพื่อการฟื้นตัวจากวิกฤติการร์โลก ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่มจร.

นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการอีกครั้งหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์พุทธศาสนาแห่งประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มประเทศชาวพุทธ จาก ๘๔ ประเทศ เข้าร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนถึง ๓,๕๐๐ รูป/คน โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในภาคเข้าของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๘.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พร้อมกันที่อาคารหอประชุม ม.ว.ก. ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สามารถจุผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง ๕,๐๐๐ ที่นั่ง หลังจากที่รับบัตรผ่านและลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เข้าไปนั่งในส่วนของแขก VIP จากต่างประเทศ และการจัดลำดับการนั่งของผู้เข้าพิธีเปิดการประชุมในครั้งนี้ ตามลำดับความสำคัญของผู้นำเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ เช่นระดับ พระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสมาคมพุทธศาสนาของประเทศนั้น ๆ และนักวิชาการ เช่น อธิการบดี หรือ รองอธิการบดี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากนั้นเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดถึงพระนักศึกษา มจร. กลุ่มชาวพุทธประเทศต่าง ๆ เช่นกลุ่มชาวพุทธเวียตนาม และกลุ่มชาวพุทธญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในการมาชุมนุมในครั้งนี้

พิธีกรคู่ชาย(ภาษาไทย)-หญิง(ภาษาอังกฤษ) ได้ประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าประจำที่และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย และ รายการแรกเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในด้านดนตรี เป็นการแสดงดนตรีโบราณเครื่องเป่า(เหมือนแคน และขลุ่ยของไทย) จากนั้นเป็นการแสดงรีวิวประกอบสไลด์โชว์มัลติมีเดียของไทย เป็นการแสดงแบบสมัยใหม่ในจินตลีลาประกอบชายหญิงเรื่องแสงพุทธธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้เห็นภาพแห่งจินตลีลาของนักแสดง และภาพประกอบมัลติมีเดียด้วย

เวลา ๙.๐๐ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการมหาเถระสมาคม ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดในครั้งนี้ หลังจากที่ประธานจุดธูปเทียน และนำสวดมนต์ไหว้พระย่อ ๆ ท่านอธิการบดี มจร. ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ได้กล่าวถวายรายงานต่อประธานเปิดงานวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๗ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลัก ๆถึง ๓ ส่วน คือพิธีเปิดประชุมชาวพุทธนานาชาติ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการฟื้นฟูวิกฤติการณ์ของโลก ด้านต่าง ๆ ตามทัศนะของชาวพุทธ จัดที่อาคารห้องประชุม มจร. และห้องเรียนรวมของ มจร. ส่วนที่ ๒ ไปประชุมที่ตึกสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศชาวพุทธต่าง ๆ การสรุปผลการสัมมนา ทั้ง ๔ กลุ่ม การสรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการอีก ๒ กลุ่ม และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ ๑๑ ข้อ ความมั่นคง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน และพิธีปิดอย่างเป็นทางการ และส่วนสุดท้ายคือไปเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเวียนเทียน ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล จ.นครปฐม กิจกรรมเหล่านี้เป็นว่ามีความสำคัญยิ่งต่อจิตใจของประชาชนชาวไทยที่พึ่งผ่านวิกฤติการณ์ทางการเมืองทำให้ต้องเสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมา จึงถือว่าการจัดงานวิสาขบูชาโลกในครั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยารักษาบาดแผลแห่งสังคมไทยด้วย
และท่านประธานในพิธีได้กล่าวเปิดงานจบแล้ว ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งได้รับความสนใจและน่าประทับใจยิ่ง

จากนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. เป็นการฟังบรรยายจากนักอนุรักษ์นิยมชาวศรีลังกา คือ ดร. เอ.ที อริยรัตเน ประธานกลุ่มสารโวทยะ ซึ่งเป็นกลุ่มดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ก่อตั้งมาแล้ว ๕๒ ปี และมีบทบาทในสังคมชนบทมีหมู่บ้านเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ถึง ๑๕,๐๐๐ หมู่บ้าน ซึ่งทำให้นักวิชาการทั้งชาวตะวันตก และชาวประเทศตะวันออกด้วยกันให้ความสนใจ ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนและไปศึกษาดูงานจากกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัย มจร. ได้เห็นความสำคัญในจุดนี้จึงได้เชิญ ดร.เอ.ที. อริยรัตเน มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นผู้บรรยายหลักของพิธีเปิดการประชุมใหญ่งานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้

หลังจากที่จบการบรรยาย เรื่อง การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ” ได้พักฉันภัตตาหารเพล ที่อาคารหอฉัน การบริหารจัดการได้แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่ม ๆ เช่นชาวพุทธที่เป็นนักบวช ฉันภัตตาหารและรับประทานอาหารชั้นหนึ่งต่างหาก และแยกห้องอาหารที่เป็นมังสวิรัติ และอาหารแบบทั่ว ๆ ไปให้เลือกฉันได้ตามอัธยาศัย

เวลา ๑๒.๓๐ น. ได้เวลาถ่ายรูปหมู่ซึ่งเป็นการยากลำบากพอสมควรที่จะให้เรียบรอ้ยเพราะคนเป็นจำนวนพัน และอากาศก็แสนจะร้อนจนแทบละลาย ต้องไปนั่งและยืนตากแดดเพื่อรอความพร้อม จนทำให้หลาย ๆ ท่านถอดใจ แต่แล้วทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสร็จแล้วต้องรีบไปเข้าห้องประชุมอีกครั้งเพราะเตรียมรับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมา พร้อมด้วย พระวรชายา ที่เสด็จมาประกอบพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในเวลาบ่าย ๒ โมงตรง

บนเวทีได้จัดพระเก้าอี้รับเสด็จ และอีกด้านหนึ่งได้จัดที่นั่งของสมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ตรงกลางเวทีได้จัดที่ให้พระสงฆ์นานาชาติระดับพระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสงฆ์ และหัวหน้ากลุ่มชาวพุทธ จำนวน ๒๕ ท่าน เพื่อรับถวายพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นเครื่องไทยธรรมและที่ระลึกในงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
เมื่อได้เวลาเสด็จฯ ท่านอธิการบดี ม.มจร. พระธรรมโกศาจารย์ ได้ออกไปนำเสด็จถึงหน้าตึก ม.ว.ก. ๔๘ พรรษา แล้วนำเสด็จเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าที่ประทับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ทูลถวายรายงาน ถึงความเป็นมาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกในครั้งนี้ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับองค์พุทธของประเทศญี่ปุ่น (ITRI) เป็นประธานจัดงานร่วมกัน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ ที่จัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาที่ประเทศไทย
หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ดังนี้

“ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๓ และได้ทราบถึงความเป็นมารวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้
พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษ ในประการที่อาศัยเหตุและผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน แสดงคำสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรอง และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยของตน ท่านทั้งหลายผู้ตั้งใจอุทิศแรงกาย แรงใจของตนเพื่อพระพุทธศาสนาจึงชอบที่จะเผยแพร่พุทธธรรมโดยยึดหลักเหตุผล แนะนำส่งเสริมให้บุคคลใช้ปัญญาพิจารณาปัญหา และสิ่งดีชั่วต่าง ๆ ให้รู้ให้เห็นตามทางและวิธีที่ถูกต้องด้วยตัวเขาเอง เมื่อบุคคลรู้จักเหตุรู้จักผล สามารถใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องทั้งปวงได้ด้วยตนเอง ย่อมจะเกิดศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง มีความเข้าใจในพุทธธรรมอย่างกระจ่าง และปฏิบัติตามหลักธรรมได้โดยถูกถ้วน การบำเพ็ญกรณียกิจของท่านในการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเผยแพร่สัมมาปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ก็จะยังผลอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ คือความสุข ความเจริญให้เกิดแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตลอดจนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลก ตามความปรารถนาที่ตั้งไว้
ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๓ ณ บัดนี้ ขอให้การประชุมครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผล อันน่าชื่นชม ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ”

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิสาขะบูชา วันพระพุทธเจ้า


เดือนพฤษภาคมนี้เป็นเดือนพิเศษของชาวพุทธทั่วโลก เพราะมีเหตุการณ์อันเกี่ยวข้องกับมหาบุรุษหรือพระพุทธเจ้าหลายประการ เหตุการณ์สำคัญนั้น คือ ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมแต่ต่างวาระหรือต่างปีกัน เป็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์สำหรับคนทั่วไปและในขณะเดียวกันก็น่าศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้สนใจใฝ่รู้ เราเรียกกันว่า วันวิสาขะ หรือวันพระพุทธเจ้าก็ได้ ซึ่งต่อมาองค์กรสหประชาชาติประกาศให้วันวิสาขะเป็นวันหยุดสากล เพื่อยกย่องสดุดีพระพุทธเจ้าในฐานะผู้มีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวโลก




ชาวพุทธในอเมริกา เมื่อมาวัดมักจะนำลูกหลานมาด้วย มีเด็กคนหนึ่งมาวัดกับย่า ชอบเรียกพระว่า You are my Buddha สาเหตุที่เขาพูดอย่างนั้น เพราะย่าบอกให้ไหว้ และเรียกพระว่า Buddha ฟังครั้งแรกๆ ก็ตกใจเหมือนกัน เพราะชาวพุทธเมืองไทยจะไม่ใช้คำนี้พร่ำเพรื่อหรือจะไม่นำมาใช้กับคนทั่วไป ด้วยความเคารพยิ่งในพระรัตนตรัย แต่ก็ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงเรื่องนี้ให้เด็กคนนั้นทราบ ในประเทศทางตะวันตก คำว่า พุทธะ นั้น เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ทุกคนก็เอื้อมถึงหรือจะบอกว่าทุกคนสามารถเป็นพุทธะได้ แต่เมื่อคิดทบทวนกลับไปกลับมาทำให้ได้ข้อคิดเกี่ยวกับคำว่า พุทธะ ที่แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน การที่เด็กเรียกอย่างนั้นเพื่อเตือนสติให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน




ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์พีบีเอส(PBS)ของอเมริกา ได้เผยแพร่สารคดีที่น่าสนใจมากชื่อว่า พระพุทธเจ้า(The Buddha) มีความตอนหนึ่งที่พราหมณ์ถามพระองค์ว่า ท่านเป็นใคร ? มีครูชื่ออะไร เป็นเทวดาหรือมนุษย์ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราคือ พุทธะ (I am the Buddha) โดยความเห็นส่วนตัว เมื่อชมสารคดีชุดนี้แล้ว รู้สึกชื่นชอบวิธีการนำเสนอพุทธประวัติของผู้กำกับมาก ถ้าท่านเคยอ่านพุทธประวัติหรือเคยเรียนในชั้นเรียน หากได้ชมสารคดีชุดนี้ จะทำให้ท่านประทับใจวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ผู้เขียนได้แต่หวังว่า วันหนึ่งคณะสงฆ์หรือชาวพุทธจะสามารถทำสารคดีที่น่าสนใจได้อย่างนี้บ้าง เพราะยังมีบทเรียนที่เป็นประโยชน์อีกหลายอย่างในพุทธประวัติที่ควรนำเสนอต่อสังคม



กลับมาเข้าเรื่องวันวิสาขะบูชาที่กำลังจะมาถึงในไม่กี่วัน ชาวพุทธในประเทศอื่นๆ คงเฉลิมฉลองวันนี้กันอย่างยิ่งใหญ่ แต่ในประเทศไทยของเราที่เป็นเมืองพุทธ กลับมีเหตุการณ์ที่น่าเศร้าเกิดขึ้น มีคนมากมายเสียชีวิตหลง ถ้าจะพูดไปแล้วก็เพราะตัณหา มานะ และทิฐิของพวกเราเอง ศัตรูที่แท้จริงสิงอยู่ภายในจิตใจของพวกเรา หาใช่คนอื่นไม่ แต่พุทธะหรือตัวรู้ไม่ได้เกิดขึ้นแก่พวกเราเลย คิดไปแล้วก็น่าเสียใจที่เรามีพุทธศาสนาแต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้ เหมือนใกล้เกลือแต่กินด่าง ได้แต่หวังว่าในวันวิสาขะบูชาหรือวันพระพุทธเจ้านี้ พุทธะหรือตัวรู้จะเกิดขึ้นในดวงใจของพวกเราบ้างว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ(ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน)ในวันวิสาขะบูชาสามารถสอนอะไรเราได้บ้าง มีสิ่งที่ชาวพุทธควรนำมาคิดไตร่ตรองสอนตนเองได้ ดังต่อไปนี้



ในเวลาประสูตินั้นพระองค์ได้เสด็จดำเนินไป 7 ก้าวพร้อมเปล่งวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ และเจริญที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ใหม่มี” ผู้เขียนคิดว่า นี้คือการประกาศจุดมุ่งหมายในชีวิตของพระองค์ เหมือนเกิดมาแล้วกำหนดว่า เราจะเป็นอะไร และเดินไปทางไหน เราซึ่งมีชีวิตอยู่หลายสิบปีบนโลกใบนี้ เคยคิดกันบ้างไหม ถึงเป้าหมายในชีวิตว่า เราจะทำอะไร จะเป็นอะไร การประกาศจุดมุ่งหมายในชีวิตของพระพุทธองค์เมื่อแรกเกิดจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาและนำมาปฏิบัติตาม



เหตุการณ์ก่อนการตรัสรู้ และหลังการตรัสรู้ก็เป็นสิ่งที่น่าศึกษาว่าเราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง หลังจากตรัสรู้แล้วพระพุทธองค์ทรงอุทานว่า “เราได้ท่องเที่ยวไปในสงสารนับชาติไม่ได้ แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างผู้ปลูกเรือนคือตัณหา ดูก่อนในช่างผู้กระทำเรือน(กิเลสตัณฟา) เราพบเจ้าแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป ฯลฯ” เป็นเหมือนการที่พระองค์ทรงค้นพบตัวการใหญ่ที่สร้างปัญหาให้ชีวิตเรา มันสิงสถิตอยู่ภายในจิตใจของเรา การตรัสรู้เหมือนการค้นพบปัญหา คนเราก็เหมือนกันควรจะปลูกพุทธะหรือตัวรู้ขึ้นภายในจิตใจให้รู้ตัวทั่วพร้อมว่า กำลังคิด พูด และทำอะไรอยู่ โลภ โกรธ หรือหลง



เหตุการณ์สุดท้ายคือการดับขันธปรินิพพานหรือพูดภาษาชาวบ้านว่าตาย ก่อนปรินิพพานพระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนเราถึงสัจธรรมของชีวิตว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความสิ้นไปและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งจงอย่าประมาทเร่งทำกิจของตนให้ถึงพร้อมเถิด” คนเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่จงอย่าได้หลงระเริง เร่งทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น จะได้ไม่เสียใจในภายหลัง เวลาความตายที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อไหร่มาถึงจะได้ตายแบบสบายไร้กังวล



ขอให้พุทธะเจริญงอกงามในจิตใจของท่านทั้งหลาย ซึ่งพุทธะนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เราต้องลงมือสร้างและทำขึ้นเอง เพราะนี้คือการบูชาที่สูงสุดที่ชาวพุทธควรทำบูชาพระพุทธเจ้าในเทศกาลวันวิสาขะบูชานี้ ฯ

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สุขภาพ สมุนไพร

คำคม-สุภาษิต “โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติฯ ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข”
ความโกรธ เมื่อเกิดย่อมเกิดทันทีทันใด ครั้นจะให้ระงับได้ทันดีทันใดเป็นเรื่องที่ทำได้ยากนะ บางที่กว่าจะรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว ท่านเรียกว่าบันดาลโทสะจนเป็นเหตุให้ก่อเรื่องเสียหายมากมายดังข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่เราได้ยินกันมามากมาย ถ้ายังไม่สามารถระงับได้ทันทีมันก็จะพัฒนาเป็นความอาฆาตพยาบาท อันเป็นเหตุทำให้จองล้างจองผลานกันไม่รู้จบสิ้นข้ามภพข้ามชาติหลายภพหลายชาติ เหมือนงูเห่ากับพังพอน กากับนกเค้า เป็นต้น แต่ถ้าใครได้อบรมศีลธรรมมาดีแล้ว อบรมจิตภาวนามาดีแล้วนั่นแหละจึงจะสามารถรู้ทัน และเพียรพยายามระงับความโกรธเสียได้บ่อยครั้ง และหลายครั้งเข้าจิตก็จะพัฒนาขึ้น เชี่ยวชาญขึ้น แข็งแรงขึ้น จนกระทั่งสามารถฆ่าความโกรธลงเสียได้ในที่สุด นั่นแหละ จึงจะเป็นผู้อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ เราจะเห็นได้ว่าขบวนการของจิตก็ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนเป็นครั้นเป็นตอนสูงขึ้นเป็นลำดับไป จนกระทั่งจิตพัฒนาสามารถใช้ประหัตประหารกิเลสได้ทันท่วงที ในแต่ละเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ใช่สักแต่ว่า ฟัง หรือท่องจำได้แล้วสามารถฆ่าความโกรธนั้นได้เลยก็หาไม่ แต่ที่จริงแล้วกว่าจะถึงจุดนี้ได้ก็ต้องผ่านกาลเวลาในการฝึกอบรมพัฒนาจิตมาเป็นอย่างดีเป็นเวลายาวนาน บางคนสั่งสมมาหลายภพหลายชาติแล้ว
-สมุนไพรไทย-
คนเราทุกคนเกิดมาแล้วบนโลกใบนี้ รวมถึงสัตว์ทุกชนิด ต่างก็ต้องการมีอายุยืนยาวด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นจึงเป็นเหตุทำให้มีผู้คิดค้นสูตรยาสมุนไพรต่างๆ เพื่อนำมาปรุงรับประทานเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนยาวเท่าที่จะเป็นไปได้ วันนี้จึงขอนำเสนอยาอายุวัฒนะขนานหนึ่งของพระยาพิษณุประสานเวท ซึ่งท่านได้เขียนตำรานี้ไว้นานแล้ว ซึ่งเมื่อท่านอ่านแล้วจะมีบ้างคนบางท่านรู้สึกได้ทันทีว่ายาขนานนี้รู้สึกว่าคุ้นเคย หรือว่าเคยได้อ่านในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งนะ จะรู้สึกว่าผ่านๆ ตามาเลยทีเดียวละ หรืออาจมีบางท่านสามารถท่องเป็นคำกลอนคล้องจองกันยังมิลืมเลยก็ได้ ซึ่งยาขนานนั้นท่านพระยาพิษณูประสานเวท ท่านเขียนไว้ในตำรา คัมภีร์แพทย์ โดยตั้งชื่อยาว่า “ยากันชรา” ซึ่งผู้เขียนคิดว่า ท่านน่าจะหมายเอาเรียวแรง กำลังวังชา ที่แข็งแรงเหมือนคนหนุ่มสาวที่สามารถทำงานได้นานไม่รู้เหน็ดเหนือเหมือนอย่างคนหนุ่มสาวนั่นเอง ซึ่งมีตัวยาดังนี้
ทิ้งท่อน ตะโกนา บอรเพ็ด แห้วหมู เมล็ดข่อย พริกไทย
โดยมีวิธีทำดังนี้........
๑. นำเปลือกทิ้งท่อน และตะโกนา เถาบอรเพ็ด หัวแห้วหมู เมล็ดข่อย และพริกไทย ชั่งให้เท่าๆกันตามจำนวนที่ต้องการ มาบดให้เข้ากัน จากนั้นจึงผสมน้ำผึ้งเดือน ๕ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้ว นำมาปั้นเป็นลูกเท่าเมล็ดพุทรา ท่านบอกว่าอย่าให้ใหญ่นัก มันจักเผากายา และติดคออีกด้วย
๒. สรรพคุณ: ทำให้กำลังแข็งแรงเจริญกล้า ตื่นตัว คล่องแคล่วว่องไว จนมีความรู้สึกว่าเป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาลนานเลยทีเดียวเชียวแหละ นะจะบอกให้ ไม่เชื่อก็ลองดู
ฉบับนี้เห็นจะพอกันแค่นี้ก่อนนะครับแล้วมาพบกันใหม่ฉบับหน้า มีข้อสงสัยประการใด ก็สอบถามกันมาได้นะครับที่ Mraksa@hotmail.com ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงกล้าแข็งดี ตื่นตัว แคล่วคล่องว่องไว เหมือนมีสูตรยากันชรา และมีความสุขตลอดกาลนาน นะครับ ด้วยรอยยิ้ม และความปรารถนาดีเช่นเดิมคร๊าบ..บ..บ

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิสาขบูชา เิชิญประชาชาวพุทธ กายใจบริสุทธ์ บูชาพุทธองค์




วิสาขบูชา เชิญประชาชาวพุทธ กายใจบริสุทธิ์ บูชาพระพุทธองค์

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท



วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน




วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย




วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542



ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน



ในวันวิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันสำคัญยิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกจะมารวมกันจัดพิธีทำบุญใหญ่หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบำเพ็ญกุศลระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งในฐานะที่วันวิสาขบูชาได้รับการยกย่องให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก เมื่อถึงวันวิสาขบูชา องค์การสหประชาชาติจะมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วย เช่น สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีการอัญเชิญพระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์ สกลโลกประกาศบูชาวันวิสาขะ (ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ) ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติเป็นการถาวร มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการะบูชา เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย นอกจากพุทธศาสนิกชนจะเข้าวัดบำเพ็ญบุญกุศลถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังนิยมปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาด้วย



วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ตั้งใจรักษาศีล 5 ศีล 8 งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ทำบุญถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น



โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันวิสาขบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันวิสาขบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้
๑. บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
๒. บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)
๓. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
๔. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
๕. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
๖. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
๗. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
๘. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
๙. บทสวดบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:ยะมัมหะ โข ฯลฯ)
จากนั้นจุดธูปเทียนและถือดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาในมือ แล้วเดินเวียนรอบปูชนียสถาน 3 รอบ โดยขณะที่เดินนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่หนึ่ง) ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่สอง) และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน (รอบที่สาม) จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี



การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา ในต่างประเทศ

กิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัดไทยในต่างประเทศ คือพยายามจัดกิจกรรมวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาตลอดปี โดยเฉพาะวันสำคัญ เช่นวันวิสาขบูชา เวียนมาถึง จะต้องจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญดังกล่าว เช่น การทำบุญตักบาตรแด่พระสงฆ์ ถวายภัตตาหารเพล และฟังธรรมเทศนา สวดมนต์ทำวัตร(แปล) เจริญสมาธิภาวนา และสุดท้ายเวียนเทียนรอบสถานที่สำคัญ เช่น พระเจดีย์ อุโบสถ์ หรือ พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในศาลา หรือแล้วสถานที่จะเอื้ออำนวย ในบางพื้นที่จะมีการจัด “งานวันวิสาขบูชานานาชาติ” คือมีโอกาสได้รวบรวมประเทศชาวพุทธ ทุกนิกาย มาร่วมกันเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชานี้ เช่นในเขตกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้มีคณะกรรมการ IBC (International Buddhist Committee) มีประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ดังนี้ ประเทศไทย ลาว เขมร เวียตนาม จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต ศรีลังกา พม่า มองโกเลีย อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ และอเมริกัน ได้ร่วมกันจัดงานฉลองวิสาขบูชานานาชาติ ที่วัดพุทธวิหาร (วัดศรีลังกา) ถนนสิบหกในกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
สาระสำคัญของการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา คือ การที่พุทธศาสนิกชนได้มารวมกันทำการบูชา สักการะ พระพุทธปฏิมากร หรือ พระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า และได้ประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมปฏิบัติ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวันสำคัญของโลกวันนี้








วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิสาขบูชา มหารำลึก

โลกหมดจดงดงามด้วยความรัก และประจักษ์ว่าเมตตามีค่ายิ่ง
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขจริง ทุกสรรพสิ่งอิงอาศัยไปด้วยกัน
คนอาศัยธรรมชาติสร้างชีวิต มวลส่ำสัตว์ล้วนมีสิทธิเสมอมั่น
มิแตกต่างรูปร่างเพศผิวพรรณ มีเขตแดนแบ่งปันพอมั่นคง
ดำรงตนตามสถานการเป็นอยู่ ต้องต่อสู้เพื่อให้รอดหลากพิษสง
ใช้ปัญญาหรืออาวุธยุทธยง จุดประสงค์เพียงเพื่อรอดและปลอดภัย
หลายหมื่นหลายพันปีพ้นผ่าน ย่อมแตกดับนับล้านอสงไขย
วัฎจักรหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงนัย เหตุปัจจัยคือหลักคอยผลักดัน
เมื่อหวาดกลัวหวั่นเกรงเร่งค้นหา ถึงที่มาที่ไปอันผกผัน
เป็นบ่อเกิดประเพณีสารพัน เหลือมาถึงทุกวันอย่างมากมาย
ด้วยเมตตาเอ็นดูประชาสัตว์ อันอุบัติ จุติล่มจมสลาย
ต้องวนเวียนทุกข์ท้นทนเกิดตาย น่าจะมีเส้นสายที่สุดทาง
บุรุษหนึ่งทรงพระนามสิทธัตถะ มุมานะฝึกฝนค้นแบบอย่าง
วิริยะเคี่ยวเข็ญมิเว้นวาง จนบรรลุแสงสว่างแห่งปัญญา
ได้รับผลสิ่งพระองค์ทรงแสวง ทรงรู้แจ้งแทงตลอดทุกปัญหา
ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมา แจ้งโลกนี้โลกหน้าอย่างสามัญ
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ผู้ประหารกิเลสหายไม่คืนหัน
อยู่ในโลกอย่างแจ้งโลกรู้เท่าทัน มิติดพันกับดักอีกต่อไป
วันประสูติตรัสรู้และนิพพาน จึงรวมกาลหนึ่งเดียวตรงเงื่อนไข
คือ เกิด เป็นพุทธะจากภายใน และดับไฟตัดกิเลสขณะพลัน
กราบเอกองค์ทรงนามพระสัมพุทธ สุวิสุทธิโปรดโลกพ้นโศกศัลย์
วิสาขบูรณมีตีค่าอนันต์ หากร่วมกันทำตามธรรมพระองค์ ฯ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ว่าด้วย “ความอาย”

“ความอาย” ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย…“ความไม่อาย” ต่างหากที่เป็นเรื่อง น่าอาย
ความอายไม่ได้มีมาตั้งแต่ที่เราเกิด…แต่มันเริ่มเกิดมาตั้งแต่ที่ “เรา” มี
เราค่อยๆ เรียนรู้ว่า สิ่งใดน่าอาย สิ่งใดไม่น่าอาย…แล้วเราก็ค่อยๆ อาย…(ถ้าเรามี-ความอาย)
แต่ถ้าเราไม่อายในสิ่งที่น่าอาย…นั่นก็ไม่ได้แปลว่า “สิ่งนั้น” จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่าอาย
แต่…มันแปลว่า…“เรา”…หน้าไม่อาย
คนที่ไม่อายในสิ่งที่น่าอาย…เป็นคนหน้าไม่อาย…(…อู้ว…)
คนที่อายในสิ่งที่น่าอาย…เป็นคนขี้อาย…(…อืม…)
คนที่อายในสิ่งที่ไม่น่าอาย…เป็นคนโง่…(…อ้าว…)
คนที่ไม่อายในสิ่งที่ไม่น่าอาย…เป็นคนฉลาด…(…เอ๊ะ…)
…แล้ว…อะไรที่น่าอาย ? …อะไรที่ไม่น่าอาย ? …หือ…?…
…นั่นแหละ…ที่เราต้องมาเรียนรู้…ต้องมาฝึกที่จะรู้…ต้องมาปฏิบัติ…เพื่อที่จะรู้
ถ้ารู้จริง (ฉลาด) ก็จะอายในสิ่งที่ควรอาย…ถ้ารู้ไม่จริง (โง่) ก็จะอายในสิ่งที่ไม่ควรอาย
สิ่งแรกที่ควรจะรู้…ไม่ใช่แค่รู้ว่าอะไรที่ควรอาย…แต่ต้องมารู้ให้ได้ก่อนว่า “ใคร” อาย ?
ถ้ายังแยกระหว่าง “ความอาย” กับ “คนที่อาย” ออกจากกันไม่ได้…ก็แปลว่าเรายัง “ไม่รู้”
พอไม่รู้…คนที่อาย (ตัวกู) ก็จะจัดการกับสิ่งที่ตนอาย (ไม่ใช่ “สิ่งที่น่าอาย” นะ) ไปแบบ…โง่ๆ
เพราะไม่รู้ตัว…เลยไม่รู้ว่า “ตัว” กำลังปกปิดความอาย หรือกำลังปกปิด “คนที่อาย” กันแน่…
…อย่าว่าแต่จะมารู้ว่า…สิ่งที่กำลังปกปิดนั้น…มันใช่สิ่งที่น่าอาย…หรือไม่ ?
ถาม…อะไรเป็นสิ่งที่น่าอาย ?
ตอบ…ความชั่ว
ถาม…อะไรคือความชั่ว ?
ตอบ…ความโลภ - ความโกรธ - ความหลง
ถาม…มันมาจากไหน ?
ตอบ…มาจากเจตนา
ถาม…มันอยู่ที่ไหน ?
ตอบ…อยู่ในจิต
ถาม…มันเกิดขึ้นได้ไง ?
ตอบ…เพราะมันโง่ไง (มันไม่รู้)
การอายความชั่ว…จึงเป็นสิ่งที่ต้องเรียน (ถึงจะรู้)…ต้องมาฝึก-ต้องมาปฏิบัติ (ถึงจะมี)
สำหรับนักปฏิบัติแล้ว…เป็นสิ่งที่น่าอายมาก…ที่จะปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง…มีกำลัง
จนมันสามารถไปผลักดันให้เกิดการกระทำชั่วออกมา ทั้ง…ทางกาย…ทางวาจา…ทางใจ
เพราะนั่นแปลว่า…ไม่ได้ปฏิบัติ…(แล้วจะมาวางท่าเป็นนักปฏิบัติอยู่ได้ไง…น่าอายมากกกก…)
อาการปล่อย-อาการเผลอ ก็คือไม่มีสติ…ไม่มีสติ ก็คือไม่ได้ปฏิบัติ (ขณะที่เผลอ-ปัจจุบันที่เผลอ)
ถ้าปฏิบัติก็จะมีสติ…เมื่อมีสติก็จะไม่เผลอ…ปล่อยให้ความชั่วมีกำลังได้
แน่นอน ว่า…ความชั่ว…มันไม่ได้มีตลอดเวลา…มันก็ “เกิด-ดับ” ของมันไปเรื่อยแหละ
และแน่นอน ว่า…สติ…มันก็ไม่ได้มีตลอดเวลา เช่นกัน…ถ้ามี ก็ไม่ต้องมาฝึกแล้ว (นิพพานแล้ว)
เรามาฝึกสติ…ฝึกที่จะเห็นความชั่วมัน “เกิด-ดับ”…ฝึกที่จะรู้ว่ามันไปผลักดันให้เกิดการกระทำที่น่าอาย
…ฝึกที่จะรู้ว่า…ความชั่ว…เป็นสิ่งที่น่าอาย
…ฝึกที่จะรู้ว่า…การปกปิดความชั่ว…เป็นสิ่งที่น่าอาย…ยิ่งกว่า
คนที่ไม่ได้ฝึก มักจะไม่อายในสิ่งที่ควรอาย…แต่จะอายที่มีความอาย…แล้วปกปิดความอายด้วยการทำสิ่งผิดๆ
…บางคนอายที่เป็นคนจน…เลยไปคด ไปโกง ไปขโมย ไปปล้นเขามา
นี่…ปกปิดความอายด้วยความโลภ…
…บางคนอายที่เป็นคนต่ำศักดิ์…เลยวางท่า วางอำนาจ ข่มใครต่อใครเขาไปทั่ว (เว้นคนที่เหนือกว่า-กลัว)
นี่…ปกปิดความอายด้วยความโกรธ…
…บางคนอายที่เป็นคนโง่…เลยทำท่าว่ารู้นั่นรู้นี่ไปซะหมด…นึกว่าไม่มีใครเขารู้ (ว่าไม่รู้)
นี่…ปกปิดความอายด้วยความหลง…
…บางคนอายความไม่สวย (คิดเอาเอง)…เลยยอมเจ็บตัว…ไปตัดนู้น เติมนี่ ต่อนั่น…สรุป…เละกว่าเดิม !
นี่ก็…ปกปิดความอายด้วยความหลง…
………………………………… ฯ ล ฯ …………………………………
เราทุกคน ก็เหมือนเด็ก…เด็กที่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไร อาจจะไปยืนแก้ผ้ากลางถนนได้ โดยที่ไม่อายอะไร…ก็มันไม่รู้นี่นา
พอรู้ประสาขึ้นมา…เด็กน้อยนั้นก็จะไม่ยอมทำอย่างนั้นอีก (ละชั่ว)…หรืออย่างน้อย ถ้าทำ…ก็ทำด้วยความอาย (มีหิริ-อายชั่ว)
…แล้วถ้าเขายังทำอยู่อีก โดยที่ไม่อายอะไรเลยล่ะ ?
…เขาไม่อาย…ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่เขาทำนั้นน่ะไม่ใช่สิ่งที่…“น่าอาย”
…เขาไม่อาย…นอกจากจะแปลว่าเขา “หน้าไม่อาย” แล้ว ยังแปลว่าเขา “ไม่รู้”…ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นน่ะ…“น่าอาย”
แต่สิ่งที่น่าอาย ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าอายอยู่วันยังค่ำ…เหมือน…ความชั่ว ก็ยังคงเป็นความชั่วอยู่วันยังค่ำ
ใครจะรู้…ใครจะไม่รู้…ผลของมันก็ยังคงมีอยู่…เป็นอยู่…อย่างนั้นเอง…ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
เด็กยืนแก้ผ้ากลางถนน…ยังพอทน…บางคนก็ว่าน่าเอ็นดู
แต่ถ้าผู้ใหญ่ ไปแก้ผ้ากลางถนน…มันเหลือทน…แต่ บางคนก็ยังชอบดู
เหมือนความชั่ว…บางคนก็ชอบดู…ชื่นชมกับความชั่วที่คนอื่นทำ…หรือภูมิใจที่ได้ทำเอง…ก็มี
…เพราะไม่รู้ว่าอะไรดี-อะไรชั่ว…อะไรน่าอาย…
…ก็วนมาที่เดิม…ต้องฝึก…ต้องปฏิบัติ…ต้องภาวนา…ต้องเจริญสติ…ต้องบำเพ็ญเพียร…สารพัดจะเรียก
…แต่มีเป้าหมายเดียว…คือ…รู้…ทำได้ก็รู้-ทำไม่ได้ก็รู้
ในขณะที่ฝึก เมื่อเราพลาด เราจะรู้ เพราะว่าเรากำลังระวังอยู่…แล้วเราจะเริ่มต้นใหม่ อีกกี่ครั้งก็ได้
ในชีวิตจริง ผิดก็คือผิด ผลของมันก็มีขึ้นทันที เหมือนกันกับในขณะฝึก…มีจริงๆ…แต่เราไม่เคยรู้
เพราะเราไม่เคยระวัง…จึงต้องมาฝึกระวังตัว…ฝึกที่จะรู้ตัว…เพื่อที่จะได้ไม่พลาด
เพราะในชีวิตจริงนั้น…ไม่มีการเริ่มต้นใหม่…ไม่มีสิทธิขอโอกาสอีกครั้ง…ไม่มีสิทธิแก้ตัว…ไม่มีทางที่จะไปแก้ไข ในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
เพราะ…มันกลายเป็นอดีตไปแล้ว ทุกขณะ…เราจัดการได้แต่…ปัจจุบัน…เท่านั้น
ต้องมา “รู้” ตรงนี้ให้ได้…แต่จะรู้ได้ ก็ด้วยการ…ฝึกที่จะ “รู้”
…อย่ารอจนสายเกินการ…