วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

The United Nations Day of Vesak 2553(2010)




มหาพุทธปัญญา เพื่อการฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์โลก ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการอีกครั้งหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์พุทธศาสนาแห่งประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มประเทศชาวพุทธ จาก ๘๔ ประเทศ เข้าร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนถึง ๓,๕๐๐ รูป/คน โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในภาคเข้าของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๘.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พร้อมกันที่อาคารหอประชุม ม.ว.ก. ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สามารถจุผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง ๕,๐๐๐ ที่นั่ง หลังจากที่รับบัตรผ่านและลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เข้าไปนั่งในส่วนของแขก VIP จากต่างประเทศ และการจัดลำดับการนั่งของผู้เข้าพิธีเปิดการประชุมในครั้งนี้ ตามลำดับความสำคัญของผู้นำเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ เช่นระดับ พระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสมาคมพุทธศาสนาของประเทศนั้น ๆ และนักวิชาการ เช่น อธิการบดี หรือ รองอธิการบดี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากนั้นเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดถึงพระนักศึกษา มจร. กลุ่มชาวพุทธประเทศต่าง ๆ เช่นกลุ่มชาวพุทธเวียตนาม และกลุ่มชาวพุทธญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในการมาชุมนุมในครั้งนี้

พิธีกรคู่ชาย(ภาษาไทย)-หญิง(ภาษาอังกฤษ) ได้ประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าประจำที่และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย และ รายการแรกเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในด้านดนตรี เป็นการแสดงดนตรีโบราณเครื่องเป่า(เหมือนแคน และขลุ่ยของไทย) จากนั้นเป็นการแสดงรีวิวประกอบสไลด์โชว์มัลติมีเดียของไทย เป็นการแสดงแบบสมัยใหม่ในจินตลีลาประกอบชายหญิงเรื่องแสงพุทธธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้เห็นภาพแห่งจินตลีลาของนักแสดง และภาพประกอบมัลติมีเดียด้วย

เวลา ๙.๐๐ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการมหาเถระสมาคม ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดในครั้งนี้ หลังจากที่ประธานจุดธูปเทียน และนำสวดมนต์ไหว้พระย่อ ๆ ท่านอธิการบดี มจร. ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ได้กล่าวถวายรายงานต่อประธานเปิดงานวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๗ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลัก ๆถึง ๓ ส่วน คือพิธีเปิดประชุมชาวพุทธนานาชาติ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการฟื้นฟูวิกฤติการณ์ของโลก ด้านต่าง ๆ ตามทัศนะของชาวพุทธ จัดที่อาคารห้องประชุม มจร. และห้องเรียนรวมของ มจร. ส่วนที่ ๒ ไปประชุมที่ตึกสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศชาวพุทธต่าง ๆ การสรุปผลการสัมมนา ทั้ง ๔ กลุ่ม การสรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการอีก ๒ กลุ่ม และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ ๑๑ ข้อ ความมั่นคง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน และพิธีปิดอย่างเป็นทางการ และส่วนสุดท้ายคือไปเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเวียนเทียน ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล จ.นครปฐม กิจกรรมเหล่านี้เป็นว่ามีความสำคัญยิ่งต่อจิตใจของประชาชนชาวไทยที่พึ่งผ่านวิกฤติการณ์ทางการเมืองทำให้ต้องเสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมา จึงถือว่าการจัดงานวิสาขบูชาโลกในครั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยารักษาบาดแผลแห่งสังคมไทยด้วย
และท่านประธานในพิธีได้กล่าวเปิดงานจบแล้ว ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งได้รับความสนใจและน่าประทับใจยิ่ง

จากนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. เป็นการฟังบรรยายจากนักอนุรักษ์นิยมชาวศรีลังกา คือ ดร. เอ.ที อริยรัตเน ประธานกลุ่มสารโวทยะ ซึ่งเป็นกลุ่มดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ก่อตั้งมาแล้ว ๕๒ ปี และมีบทบาทในสังคมชนบทมีหมู่บ้านเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ถึง ๑๕,๐๐๐ หมู่บ้าน ซึ่งทำให้นักวิชาการทั้งชาวตะวันตก และชาวประเทศตะวันออกด้วยกันให้ความสนใจ ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนและไปศึกษาดูงานจากกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก
ทางมหาวิทยาลัย มจร. ได้เห็นความสำคัญในจุดนี้จึงได้เชิญ ดร.เอ.ที. อริยรัตเน มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นผู้บรรยายหลักของพิธีเปิดการประชุมใหญ่งานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้

หลังจากที่จบการบรรยาย เรื่อง การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ” ได้พักฉันภัตตาหารเพล ที่อาคารหอฉัน การบริหารจัดการได้แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่ม ๆ เช่นชาวพุทธที่เป็นนักบวช ฉันภัตตาหารและรับประทานอาหารชั้นหนึ่งต่างหาก และแยกห้องอาหารที่เป็นมังสวิรัติ และอาหารแบบทั่ว ๆ ไปให้เลือกฉันได้ตามอัธยาศัย

เวลา ๑๒.๓๐ น. ได้เวลาถ่ายรูปหมู่ซึ่งเป็นการยากลำบากพอสมควรที่จะให้เรียบรอ้ยเพราะคนเป็นจำนวนพัน และอากาศก็แสนจะร้อนจนแทบละลาย ต้องไปนั่งและยืนตากแดดเพื่อรอความพร้อม จนทำให้หลาย ๆ ท่านถอดใจ แต่แล้วทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสร็จแล้วต้องรีบไปเข้าห้องประชุมอีกครั้งเพราะเตรียมรับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมา พร้อมด้วย พระวรชายา ที่เสด็จมาประกอบพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในเวลาบ่าย ๒ โมงตรง

บนเวทีได้จัดพระเก้าอี้รับเสด็จ และอีกด้านหนึ่งได้จัดที่นั่งของสมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ตรงกลางเวทีได้จัดที่ให้พระสงฆ์นานาชาติระดับพระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสงฆ์ และหัวหน้ากลุ่มชาวพุทธ จำนวน ๒๕ ท่าน เพื่อรับถวายพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นเครื่องไทยธรรมและที่ระลึกในงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓

เมื่อได้เวลาเสด็จฯ ท่านอธิการบดี ม.มจร. พระธรรมโกศาจารย์ ได้ออกไปนำเสด็จถึงหน้าตึก ม.ว.ก. ๔๘ พรรษา แล้วนำเสด็จเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าที่ประทับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ทูลถวายรายงาน ถึงความเป็นมาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกในครั้งนี้ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับองค์พุทธของประเทศญี่ปุ่น (ITRI) เป็นประธานจัดงานร่วมกัน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ ที่จัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาที่ประเทศไทย
หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ดังนี้


“ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๓ และได้ทราบถึงความเป็นมารวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้
พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษ ในประการที่อาศัยเหตุและผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน แสดงคำสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรอง และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยของตน ท่านทั้งหลายผู้ตั้งใจอุทิศแรงกาย แรงใจของตนเพื่อพระพุทธศาสนาจึงชอบที่จะเผยแพร่พุทธธรรมโดยยึดหลักเหตุผล แนะนำส่งเสริมให้บุคคลใช้ปัญญาพิจารณาปัญหา และสิ่งดีชั่วต่าง ๆ ให้รู้ให้เห็นตามทางและวิธีที่ถูกต้องด้วยตัวเขาเอง เมื่อบุคคลรู้จักเหตุรู้จักผล สามารถใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องทั้งปวงได้ด้วยตนเอง ย่อมจะเกิดศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง มีความเข้าใจในพุทธธรรมอย่างกระจ่าง และปฏิบัติตามหลักธรรมได้โดยถูกถ้วน การบำเพ็ญกรณียกิจของท่านในการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเผยแพร่สัมมาปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ก็จะยังผลอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ คือความสุข ความเจริญให้เกิดแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตลอดจนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลก ตามความปรารถนาที่ตั้งไว้
ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๓ ณ บัดนี้ ขอให้การประชุมครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผล อันน่าชื่นชม ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ”

The United Nation Day of Vesak 2553(2010)






มหาพุทธปัญญา เพื่อการฟื้นตัวจากวิกฤติการร์โลก ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่มจร.

นับเป็นความยิ่งใหญ่อลังการอีกครั้งหนึ่งของการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์พุทธศาสนาแห่งประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มประเทศชาวพุทธ จาก ๘๔ ประเทศ เข้าร่วมชุมนุมที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ. วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวนถึง ๓,๕๐๐ รูป/คน โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในภาคเข้าของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เวลา ๘.๐๐ น. ผู้เข้าร่วมประชุมได้พร้อมกันที่อาคารหอประชุม ม.ว.ก. ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สามารถจุผู้เข้าร่วมประชุมได้ถึง ๕,๐๐๐ ที่นั่ง หลังจากที่รับบัตรผ่านและลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้วได้เข้าไปนั่งในส่วนของแขก VIP จากต่างประเทศ และการจัดลำดับการนั่งของผู้เข้าพิธีเปิดการประชุมในครั้งนี้ ตามลำดับความสำคัญของผู้นำเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ เช่นระดับ พระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสมาคมพุทธศาสนาของประเทศนั้น ๆ และนักวิชาการ เช่น อธิการบดี หรือ รองอธิการบดี ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จากนั้นเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ และในประเทศ ตลอดถึงพระนักศึกษา มจร. กลุ่มชาวพุทธประเทศต่าง ๆ เช่นกลุ่มชาวพุทธเวียตนาม และกลุ่มชาวพุทธญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ในการมาชุมนุมในครั้งนี้

พิธีกรคู่ชาย(ภาษาไทย)-หญิง(ภาษาอังกฤษ) ได้ประกาศเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าประจำที่และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี จากนั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติมหาวิทยาลัย มหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย และ รายการแรกเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในด้านดนตรี เป็นการแสดงดนตรีโบราณเครื่องเป่า(เหมือนแคน และขลุ่ยของไทย) จากนั้นเป็นการแสดงรีวิวประกอบสไลด์โชว์มัลติมีเดียของไทย เป็นการแสดงแบบสมัยใหม่ในจินตลีลาประกอบชายหญิงเรื่องแสงพุทธธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและได้เห็นภาพแห่งจินตลีลาของนักแสดง และภาพประกอบมัลติมีเดียด้วย

เวลา ๙.๐๐ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และกรรมการมหาเถระสมาคม ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดในครั้งนี้ หลังจากที่ประธานจุดธูปเทียน และนำสวดมนต์ไหว้พระย่อ ๆ ท่านอธิการบดี มจร. ศ.ดร.พระธรรมโกศาจารย์ ได้กล่าวถวายรายงานต่อประธานเปิดงานวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ ๗ ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๓ ซึ่งจะจัดกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม โดยมีกิจกรรมหลัก ๆถึง ๓ ส่วน คือพิธีเปิดประชุมชาวพุทธนานาชาติ และการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องการฟื้นฟูวิกฤติการณ์ของโลก ด้านต่าง ๆ ตามทัศนะของชาวพุทธ จัดที่อาคารห้องประชุม มจร. และห้องเรียนรวมของ มจร. ส่วนที่ ๒ ไปประชุมที่ตึกสหประชาชาติ ถนนราชดำเนิน เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศชาวพุทธต่าง ๆ การสรุปผลการสัมมนา ทั้ง ๔ กลุ่ม การสรุปผลประชุมเชิงปฏิบัติการอีก ๒ กลุ่ม และการประกาศปฏิญญากรุงเทพ ๑๑ ข้อ ความมั่นคง และส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างยั่งยืน และพิธีปิดอย่างเป็นทางการ และส่วนสุดท้ายคือไปเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเวียนเทียน ณ มณฑลพิธีพุทธมณฑล จ.นครปฐม กิจกรรมเหล่านี้เป็นว่ามีความสำคัญยิ่งต่อจิตใจของประชาชนชาวไทยที่พึ่งผ่านวิกฤติการณ์ทางการเมืองทำให้ต้องเสียเลือดเนื้อและทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมา จึงถือว่าการจัดงานวิสาขบูชาโลกในครั้งนี้เพื่อเป็นการเยียวยารักษาบาดแผลแห่งสังคมไทยด้วย
และท่านประธานในพิธีได้กล่าวเปิดงานจบแล้ว ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ(ภาษาอังกฤษ) ซึ่งได้รับความสนใจและน่าประทับใจยิ่ง

จากนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. เป็นการฟังบรรยายจากนักอนุรักษ์นิยมชาวศรีลังกา คือ ดร. เอ.ที อริยรัตเน ประธานกลุ่มสารโวทยะ ซึ่งเป็นกลุ่มดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ก่อตั้งมาแล้ว ๕๒ ปี และมีบทบาทในสังคมชนบทมีหมู่บ้านเป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ถึง ๑๕,๐๐๐ หมู่บ้าน ซึ่งทำให้นักวิชาการทั้งชาวตะวันตก และชาวประเทศตะวันออกด้วยกันให้ความสนใจ ได้ร่วมกันให้การสนับสนุนและไปศึกษาดูงานจากกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก ทางมหาวิทยาลัย มจร. ได้เห็นความสำคัญในจุดนี้จึงได้เชิญ ดร.เอ.ที. อริยรัตเน มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นผู้บรรยายหลักของพิธีเปิดการประชุมใหญ่งานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้

หลังจากที่จบการบรรยาย เรื่อง การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก ตามทัศนะชาวพุทธ” ได้พักฉันภัตตาหารเพล ที่อาคารหอฉัน การบริหารจัดการได้แบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่ม ๆ เช่นชาวพุทธที่เป็นนักบวช ฉันภัตตาหารและรับประทานอาหารชั้นหนึ่งต่างหาก และแยกห้องอาหารที่เป็นมังสวิรัติ และอาหารแบบทั่ว ๆ ไปให้เลือกฉันได้ตามอัธยาศัย

เวลา ๑๒.๓๐ น. ได้เวลาถ่ายรูปหมู่ซึ่งเป็นการยากลำบากพอสมควรที่จะให้เรียบรอ้ยเพราะคนเป็นจำนวนพัน และอากาศก็แสนจะร้อนจนแทบละลาย ต้องไปนั่งและยืนตากแดดเพื่อรอความพร้อม จนทำให้หลาย ๆ ท่านถอดใจ แต่แล้วทุกอย่างก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เสร็จแล้วต้องรีบไปเข้าห้องประชุมอีกครั้งเพราะเตรียมรับเสด็จ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมา พร้อมด้วย พระวรชายา ที่เสด็จมาประกอบพิธีเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการในเวลาบ่าย ๒ โมงตรง

บนเวทีได้จัดพระเก้าอี้รับเสด็จ และอีกด้านหนึ่งได้จัดที่นั่งของสมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์ ตรงกลางเวทีได้จัดที่ให้พระสงฆ์นานาชาติระดับพระสังฆราช พระสังฆนายก ประธานสงฆ์ และหัวหน้ากลุ่มชาวพุทธ จำนวน ๒๕ ท่าน เพื่อรับถวายพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาเป็นเครื่องไทยธรรมและที่ระลึกในงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓
เมื่อได้เวลาเสด็จฯ ท่านอธิการบดี ม.มจร. พระธรรมโกศาจารย์ ได้ออกไปนำเสด็จถึงหน้าตึก ม.ว.ก. ๔๘ พรรษา แล้วนำเสด็จเข้าสู่ห้องประชุม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วเข้าที่ประทับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ทูลถวายรายงาน ถึงความเป็นมาและความสำคัญของการจัดกิจกรรมนานาชาติฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกในครั้งนี้ โดยมีมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับองค์พุทธของประเทศญี่ปุ่น (ITRI) เป็นประธานจัดงานร่วมกัน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ ที่จัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาที่ประเทศไทย
หลังจากนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ดังนี้

“ข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๓ และได้ทราบถึงความเป็นมารวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประชุมครั้งนี้
พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษ ในประการที่อาศัยเหตุและผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน แสดงคำสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรอง และหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุข ความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยของตน ท่านทั้งหลายผู้ตั้งใจอุทิศแรงกาย แรงใจของตนเพื่อพระพุทธศาสนาจึงชอบที่จะเผยแพร่พุทธธรรมโดยยึดหลักเหตุผล แนะนำส่งเสริมให้บุคคลใช้ปัญญาพิจารณาปัญหา และสิ่งดีชั่วต่าง ๆ ให้รู้ให้เห็นตามทางและวิธีที่ถูกต้องด้วยตัวเขาเอง เมื่อบุคคลรู้จักเหตุรู้จักผล สามารถใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องทั้งปวงได้ด้วยตนเอง ย่อมจะเกิดศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง มีความเข้าใจในพุทธธรรมอย่างกระจ่าง และปฏิบัติตามหลักธรรมได้โดยถูกถ้วน การบำเพ็ญกรณียกิจของท่านในการจรรโลงพระพุทธศาสนาและเผยแพร่สัมมาปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม ก็จะยังผลอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ คือความสุข ความเจริญให้เกิดแก่บุคคลผู้ปฏิบัติตลอดจนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของโลก ตามความปรารถนาที่ตั้งไว้
ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดการประชุมชาวพุทธนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี ๒๕๕๓ ณ บัดนี้ ขอให้การประชุมครั้งนี้ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย และบรรลุผล อันน่าชื่นชม ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ”